คำว่า “เกี้ยว” เป็นคำนาม หมายถึง เครื่องประดับศรีษะ หรือเครื่องสวมจุก เป็นคำกริยา แปลว่าผูกรัด หรือพัน เครื่องสวมจุกราชาศัพท์เรียกว่า “พระเกี้ยว” ซึ่งคนสมัยก่อนไว้ผมยาว จึงต้องเกล้ามุนไว้ แล้วหาสิ่งรัดรอบไว้ เรียกว่า “เกี้ยว” โดยใช้ดอกไม้เป็นมาลาสวมประดับ ต่อมาจึงทำด้วยทองคำ สิ่งมีค่ามีลวดลายเพชรพลอย ใช้ประด้บผมทรงสูง เช่น ประดับจุก บางทีอาจเป็น 2 ชั้น 3 ชั้น เช่น ที่สวมพระเจ้าลูกเธอในเวลาโสกันต์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กำหนดให้ “พระเกี้ยว” เป็นพิจิตรเรขา หรือสัญลักษณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ หรือที่เรียกกันว่า “ตราจุลมงกุฎ” ซึ่งแต่เดิมมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดเครื่องหมายพระเกี้ยวเป็นตราประจำโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมื่อทรงสถาปนาโรงเรียนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ตราพระเกี้ยวประจำโรงเรียน ก็สืบทอดมาเป็นตรามหาวิทยาลัยต่อไป การใช้หมอนรองพระเกี้ยวเป็นสีชมพู ด้วยวันอังคารเป็นวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้ “พระเกี้ยว” เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตของ
คุณหญิงสุชาดา ถิระวัฒน์ ผู้ประสานงานในการก่อตั้งโรงเรียนนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ เป็นมงคลอันสูงส่งที่เราชาวเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าภาคภูมิใจในเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นลูกพระเกี้ยว